วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553
Siwat-mmd: โครงการ ขายของเล่นออนไลด์(รายได้สว่นหนึ่งบริจาคเด็...
วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553
shape tween
Shape Tween นั้น แปลตัวตัวคือการทำ Animation เปลี่ยนแปลงรูปทรง ถ้าอิงตามหลักการของ Tweening ก็หมายความว่า โปรแกรมจะคำนวณรูปทรงหนึ่งให้เปลี่ยนเป็นอีกรูปทรงหนึ่ง แบบทีละขั้นตอน โดยหน้าที่ของท่านก็คือ กำหนดเพียงจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายเท่านั้น ซึ่งจุดเริ่มต้นกับจุดสุดท้ายก็หมายถึง Keyframe นั่นเอง
การทำ Shape Tween คือ ภาพจากภาพหนึ่งเปลี่ยน ไปเป็นอีกภาพหนึ่ง เช่น ภาพวงกลมค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นภาพ สี่เหลี่ยม เป็นต้น จะมีกฏอยู่ว่าคุณไม่สามารถใช้คำสั่ง Shape Tween กับ Symbols, Instance หรือข้อความได้ คุณจะใช้คำสั่งนี้ได้ เฉพาะกับภาพแบบ Plain Draw (ภาพลายเส้นที่วาดด้วยเครื่องมือของ Flash เช่นสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม หรือลายเส้น) เท่านั้น และภาพนั้นต้องไม่ถูก Group อยู่ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ Shape Tween เปลี่ยนรูปทรงของภาพได้หลาย ๆ ภาพพร้อมกัน แม้ว่า ภาพทุกภาพนั้นจะอยู่ในเลเยอร์เดียวกัน ทั้งหมดก็ตาม
วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553
2D Animation คือ
- เห็นได้ทั้งความสูงและความกว้าง
- ในการสร้างไม่ซับซ้อน สร้างจากคอม
- หรือวาดภาพเองก็ได้ เช่น การ์ตูนที่ดูกันในทีวี ซึ่งทำง่ายมาก
- สามารถจิตนาการได้อย่างไม่มีขอบเขต
- ใช้อธิบายความคิดเห็นที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้
3D Animation คือ
- เห็นทั้งความสูง ความกว้างและความลึก
- เห็นแสงและเงาเหมือนจริง
- สร้างจากคอมส่วนมาก และ
- ต้นแบบ อาจจะมาจากรูปวาดก็ได้ ไม่ก็สร้างเอง หรือเป็ภาพถ่าย
- สามารถจินตนาการได้อย่างไม่มีขอบเขต
- สามารถอธิบายเรื่องซับซ้อนและเข้าใจยากให้ง่ายขึ้น
- ใช้อธิบายความคิดเห็นที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้
ข้อเสีย-จุดด้อย
2D Animation คือ
- กระบวนการสร้างซับซ้อนกว่าภาพวาดปกติ
- ความคมชัดยังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ
- ภาพไม่มีมิติที่สวยงาม
3D Animation คือ
- ขั้นตอนการทำซับซ้อนมาก กว่าแบบ 2 มิติ
- ต้องใช้เทคนิคมากในการสร้าง
ปัญหา animation ของประเทศไทย
ตัวอย่าง 2 D animation
ตัวอย่าง 3 D animation
ตัวอย่าง animation ของประเทศไทย
Animation
อนิเมชั่นไทยเริ่มต้นเมื่อ 60 ปีที่แล้ว ตัวการ์ตูนอนิเมชั่นจะพบได้ในโฆษณาทีวี เช่น หนูหล่อของยาหม่องบริบูรณ์ปาล์ม ของ อ.สรรพสิริ วิริยสิริ ซึ่งเป็นผู้สร้างอนิเมชั่นคนแรกของไทย และยังมีหมีน้อย จากนมตราหมี แม่มดกับสโนว์ไวท์ของแป้งน้ำควินน่าอีกด้วยอ.เสน่ห์ คล้ายเคลื่อน ก็มีความคิดที่จะสร้างอนิเมชั่นเรื่องแรกในไทย แต่ก็ต้องล้มไปเพราะกฎหมายควบคุมสื่อในสมัยนั้น และ10ปีต่อมา ปี พ.ศ. 2498
อ.ปยุต เงากระจ่าง ก็ทำสำเร็จจนได้จากเรื่อง "เหตุมหัศจรรย์" ที่ใช้ประกอบภาพยนตร์ ทุรบุรุษทุย ของ ส.อาสนจินดา
ภาพยนตร์การ์ตูนไทย เกิดขึ้นครั้งแรกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บุคคลที่ถือว่ามีบทบาทต่อวงการการ์ตูนไทย คือ ปยุต เงากระจ่าง ภาพยนตร์การ์ตูนไทยสำเร็จเรื่องแรก ชื่อ เหตุมหัศจรรย์ เป็นภาพยนตร์การ์ตูน ขนาดสั้น ความยาว 12 นาที นำออกฉายเป็นรายการพิเศษสำหรับสื่อมวลชนและผู้ชมเฉพาะ ที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย [27] ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 จึงได้รับการนำออกฉายสู่สาธารณชน ประกอบในรายการฉาย ภาพยนตร์เรื่อง ทุรบุรุษทุย ต่อมา ปยุตได้สร้างภาพยนตร์การ์ตูน 20 นาที อีก 2 เรื่อง เรื่องแรกคือ หนุมานเผชิญภัย (ครั้งใหม่) ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักข่าวสารอเมริกัน แต่ก็ล้มเหลวเพราะมีเนื้อหาต่อต้านคอมมิวนิสต์ ที่เหมือนจะไปเสียดสี จอมพล สฤษดิ์ ธนรัตน์ ผู้นำในสมัยนั้นซึ่งเกิดปีวอกและเรื่องที่สองคือ เด็กกับหมี (2503) ขององค์การ สปอ. พ.ศ. 2522 อ.ปยุต เงากระจ่าง ได้สร้างภาพยนตร์การ์ตูนขนาดยาว เรื่องแรกของประเทศไทย เรื่อง "สุดสาคร" ใช้เวลาการทำงานร่วม 2 ปี สุดสาครภาพยนตร์การ์ตูน ขนาดยาวเรื่องแรกที่ฉาย ในเดือน เมษายน พ.ศ. 2522[28] ที่ประสบความสำเร็จมากพอสมควรในยุคนั้นโดยท่านได้ใช้วิธีการถ่ายจากแผ่นเซล์ใส และวิธีการบันทึกที่เรียกว่า STOP MOTIONหรือการยิงภาพทีละเฟรม โดยท่านอาจารย์ได้ใช้การแบ่งคีย์เฟรมแบบฝรั่ง นั่นคือ 24 เฟรม/ วินาที
แอนิเมชัน (Animation) หมายถึง กระบวนการที่เฟรมแต่ละเฟรมของภาพยนตร์ ถูกผลิตขึ้นต่างหากจาก กันทีละเฟรม แล้วนำมาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน โดยการฉายต่อเนื่องกัน ไม่ว่าจากวิธีการ ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ถ่ายภาพรูปวาด หรือ หรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับเมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉาย ด้วยความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาที ขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่าภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจาก การเห็นภาพติดตาในทาง คอมพิวเตอร์ การจัดเก็บภาพแบบอนิเมชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต ได้แก่เก็บในรูปแบบ GIF MNG SVG และ แฟลช คำว่า แอนิเมชั่น (animation) รวมทั้งคำว่า animate และ animator มากจากรากศัพท์ละติน "animare" ซึ่งมีความมหมายว่าทำให้มีชีวิต ภาพยนตร์แอนิเมชั่นจึงหมายถึงการสร้างสรรค์ลายเส้นและรูปทรงที่ไม่มีชีวิต ให้เคลื่อนไหวเกิดมีชีวิตขึ้นมาได้(Paul Wells , 1998 : 10 )
ชนิดของแอนิเมชั่นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ
1. Drawn Animation คือแอนิเมชั่นที่เกิดจากการวาดภาพหลายๆพันภาพ แต่การฉายภาพเหล่านั้นผ่านกล้องอาจใช้เวลาไม่กี่นาทีข้อดีของการทำแอนิเมชั่นชนิดนี้คือ มีความเป็นศิลปะ สวยงาม น่าดูชม แต่ข้อเสีย คือ ต้องใช้เวลาในการผลิตมาก ต้องใช้แอนิเมเตอร์จำนวนมากและต้นทุนก็สูงตามไปด้วย
2. Stop Motion หรือเรียกว่า Model Animation เป็นการถ่ายภาพแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อยๆขยับ อาจจะเป็นของเล่นหรืออาจจะสร้างตัวละครจาก Plasticine วัสดุที่คล้ายกับดินน้ำมันโดยโมเดลที่สร้างขึ้นมาสามารถใช้ได้อีกหลายครั้งและยังสามารถผลิตได้หลายตัว ทำให้สามารถถ่ายทำได้หลายฉากในเวลาเดียวกัน แต่การทำ Stop Motmotion นั้นต้องอาศัยเวลาและความทุ่มเทมาก เช่น การผลิตภาพยนตร์เรื่อง James and the Giant Peach สามารถผลิตได้ 10 วินาทีต่อวันเท่านั้น วิธีนี้เป็นงานที่ต้องอาศัยความอดทนมาก
3. Computer Animation ปัจจุบันมีซอฟท์ที่สามารถช่วยให้การทำแอนิเมชั่นง่ายขึ้น เช่น โปรแกรม Maya, Macromediaและ 3D Studio Max เป็นต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ประหยัดเวลาการผลิตและประหยัดต้นทุนเป็นอย่างมาก เช่น ภาพยนตร์เรื่องToy Story ใช้แอนิเมเตอร์เพียง 110 คนเท่านั้น
ตัวอย่าง