วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

shape tween


Shape Tween นั้น แปลตัวตัวคือการทำ Animation เปลี่ยนแปลงรูปทรง ถ้าอิงตามหลักการของ Tweening ก็หมายความว่า โปรแกรมจะคำนวณรูปทรงหนึ่งให้เปลี่ยนเป็นอีกรูปทรงหนึ่ง แบบทีละขั้นตอน โดยหน้าที่ของท่านก็คือ กำหนดเพียงจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายเท่านั้น ซึ่งจุดเริ่มต้นกับจุดสุดท้ายก็หมายถึง Keyframe นั่นเอง


การทำ Shape Tween คือ ภาพจากภาพหนึ่งเปลี่ยน ไปเป็นอีกภาพหนึ่ง เช่น ภาพวงกลมค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นภาพ สี่เหลี่ยม เป็นต้น จะมีกฏอยู่ว่าคุณไม่สามารถใช้คำสั่ง Shape Tween กับ Symbols, Instance หรือข้อความได้ คุณจะใช้คำสั่งนี้ได้ เฉพาะกับภาพแบบ Plain Draw (ภาพลายเส้นที่วาดด้วยเครื่องมือของ Flash เช่นสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม หรือลายเส้น) เท่านั้น และภาพนั้นต้องไม่ถูก Group อยู่ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ Shape Tween เปลี่ยนรูปทรงของภาพได้หลาย ๆ ภาพพร้อมกัน แม้ว่า ภาพทุกภาพนั้นจะอยู่ในเลเยอร์เดียวกัน ทั้งหมดก็ตาม

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข้อดี-จุดเด่น


2D Animation คือ

  • เห็นได้ทั้งความสูงและความกว้าง
  • ในการสร้างไม่ซับซ้อน สร้างจากคอม
  • หรือวาดภาพเองก็ได้ เช่น การ์ตูนที่ดูกันในทีวี ซึ่งทำง่ายมาก
  • สามารถจิตนาการได้อย่างไม่มีขอบเขต
  • ใช้อธิบายความคิดเห็นที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้

3D Animation คือ

  • เห็นทั้งความสูง ความกว้างและความลึก
  • เห็นแสงและเงาเหมือนจริง
  • สร้างจากคอมส่วนมาก และ
  • ต้นแบบ อาจจะมาจากรูปวาดก็ได้ ไม่ก็สร้างเอง หรือเป็ภาพถ่าย
  • สามารถจินตนาการได้อย่างไม่มีขอบเขต
  • สามารถอธิบายเรื่องซับซ้อนและเข้าใจยากให้ง่ายขึ้น
  • ใช้อธิบายความคิดเห็นที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้

ข้อเสีย-จุดด้อย

2D Animation คือ


  • กระบวนการสร้างซับซ้อนกว่าภาพวาดปกติ
  • ความคมชัดยังมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ
  • ภาพไม่มีมิติที่สวยงาม


3D Animation คือ


  • ขั้นตอนการทำซับซ้อนมาก กว่าแบบ 2 มิติ
  • ต้องใช้เทคนิคมากในการสร้าง

ปัญหา animation ของประเทศไทย

  • ศักยภาพของเทคโนโลย และตัวบุคลากร ด้อยกว่า
  • การพัฒนาของประเทศเราช้ากว่าหลายปี
  • การจัดการแข่งขันด้าน animation มีน้อย เลยทำให้คนเก่งน้อย
  • อาจารย์ผู้สอนมีน้อย ที่สอนด้าน animation
  • การสร้างงาน animation ของเรา ยังไม่เพียงพอ

ตัวอย่าง 2 D animation



ตัวอย่าง 3 D animation



ตัวอย่าง animation ของประเทศไทย

Animation

คำว่า แอนิเมชั่น (animation) รวมทั้งคำว่า animate และ animator มากจากรากศัพท์ละติน "animare" ซึ่งมีความมหมายว่าทำให้มีชีวิต ภาพยนตร์แอนิเมชั่นจึงหมายถึงการสร้างสรรค์ลายเส้นและรูปทรงที่ไม่มีชีวิต ให้เคลื่อนไหวเกิดมีชีวิตขึ้นมาได้(Paul Wells , 1998 : 10 )


อนิเมชั่นไทยเริ่มต้นเมื่อ 60 ปีที่แล้ว ตัวการ์ตูนอนิเมชั่นจะพบได้ในโฆษณาทีวี เช่น หนูหล่อของยาหม่องบริบูรณ์ปาล์ม ของ อ.สรรพสิริ วิริยสิริ ซึ่งเป็นผู้สร้างอนิเมชั่นคนแรกของไทย และยังมีหมีน้อย จากนมตราหมี แม่มดกับสโนว์ไวท์ของแป้งน้ำควินน่าอีกด้วยอ.เสน่ห์ คล้ายเคลื่อน ก็มีความคิดที่จะสร้างอนิเมชั่นเรื่องแรกในไทย แต่ก็ต้องล้มไปเพราะกฎหมายควบคุมสื่อในสมัยนั้น และ10ปีต่อมา ปี พ.ศ. 2498
อ.ปยุต เงากระจ่าง ก็ทำสำเร็จจนได้จากเรื่อง "เหตุมหัศจรรย์" ที่ใช้ประกอบภาพยนตร์ ทุรบุรุษทุย ของ ส.อาสนจินดา

ภาพยนตร์การ์ตูนไทย เกิดขึ้นครั้งแรกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 บุคคลที่ถือว่ามีบทบาทต่อวงการการ์ตูนไทย คือ ปยุต เงากระจ่าง ภาพยนตร์การ์ตูนไทยสำเร็จเรื่องแรก ชื่อ เหตุมหัศจรรย์ เป็นภาพยนตร์การ์ตูน ขนาดสั้น ความยาว 12 นาที นำออกฉายเป็นรายการพิเศษสำหรับสื่อมวลชนและผู้ชมเฉพาะ ที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย [27] ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 จึงได้รับการนำออกฉายสู่สาธารณชน ประกอบในรายการฉาย ภาพยนตร์เรื่อง ทุรบุรุษทุย ต่อมา ปยุตได้สร้างภาพยนตร์การ์ตูน 20 นาที อีก 2 เรื่อง เรื่องแรกคือ หนุมานเผชิญภัย (ครั้งใหม่) ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักข่าวสารอเมริกัน แต่ก็ล้มเหลวเพราะมีเนื้อหาต่อต้านคอมมิวนิสต์ ที่เหมือนจะไปเสียดสี จอมพล สฤษดิ์ ธนรัตน์ ผู้นำในสมัยนั้นซึ่งเกิดปีวอกและเรื่องที่สองคือ เด็กกับหมี (2503) ขององค์การ สปอ. พ.ศ. 2522 อ.ปยุต เงากระจ่าง ได้สร้างภาพยนตร์การ์ตูนขนาดยาว เรื่องแรกของประเทศไทย เรื่อง "สุดสาคร" ใช้เวลาการทำงานร่วม 2 ปี สุดสาครภาพยนตร์การ์ตูน ขนาดยาวเรื่องแรกที่ฉาย ในเดือน เมษายน พ.ศ. 2522[28] ที่ประสบความสำเร็จมากพอสมควรในยุคนั้นโดยท่านได้ใช้วิธีการถ่ายจากแผ่นเซล์ใส และวิธีการบันทึกที่เรียกว่า STOP MOTIONหรือการยิงภาพทีละเฟรม โดยท่านอาจารย์ได้ใช้การแบ่งคีย์เฟรมแบบฝรั่ง นั่นคือ 24 เฟรม/ วินาที

แอนิเมชัน (Animation) หมายถึง กระบวนการที่เฟรมแต่ละเฟรมของภาพยนตร์ ถูกผลิตขึ้นต่างหากจาก กันทีละเฟรม แล้วนำมาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน โดยการฉายต่อเนื่องกัน ไม่ว่าจากวิธีการ ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ถ่ายภาพรูปวาด หรือ หรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับเมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉาย ด้วยความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาที ขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่าภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจาก การเห็นภาพติดตาในทาง คอมพิวเตอร์ การจัดเก็บภาพแบบอนิเมชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต ได้แก่เก็บในรูปแบบ GIF MNG SVG และ แฟลช คำว่า แอนิเมชั่น (animation) รวมทั้งคำว่า animate และ animator มากจากรากศัพท์ละติน "animare" ซึ่งมีความมหมายว่าทำให้มีชีวิต ภาพยนตร์แอนิเมชั่นจึงหมายถึงการสร้างสรรค์ลายเส้นและรูปทรงที่ไม่มีชีวิต ให้เคลื่อนไหวเกิดมีชีวิตขึ้นมาได้(Paul Wells , 1998 : 10 )

ชนิดของแอนิเมชั่นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ

1. Drawn Animation คือแอนิเมชั่นที่เกิดจากการวาดภาพหลายๆพันภาพ แต่การฉายภาพเหล่านั้นผ่านกล้องอาจใช้เวลาไม่กี่นาทีข้อดีของการทำแอนิเมชั่นชนิดนี้คือ มีความเป็นศิลปะ สวยงาม น่าดูชม แต่ข้อเสีย คือ ต้องใช้เวลาในการผลิตมาก ต้องใช้แอนิเมเตอร์จำนวนมากและต้นทุนก็สูงตามไปด้วย






2. Stop Motion หรือเรียกว่า Model Animation เป็นการถ่ายภาพแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อยๆขยับ อาจจะเป็นของเล่นหรืออาจจะสร้างตัวละครจาก Plasticine วัสดุที่คล้ายกับดินน้ำมันโดยโมเดลที่สร้างขึ้นมาสามารถใช้ได้อีกหลายครั้งและยังสามารถผลิตได้หลายตัว ทำให้สามารถถ่ายทำได้หลายฉากในเวลาเดียวกัน แต่การทำ Stop Motmotion นั้นต้องอาศัยเวลาและความทุ่มเทมาก เช่น การผลิตภาพยนตร์เรื่อง James and the Giant Peach สามารถผลิตได้ 10 วินาทีต่อวันเท่านั้น วิธีนี้เป็นงานที่ต้องอาศัยความอดทนมาก



3. Computer Animation ปัจจุบันมีซอฟท์ที่สามารถช่วยให้การทำแอนิเมชั่นง่ายขึ้น เช่น โปรแกรม Maya, Macromediaและ 3D Studio Max เป็นต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ประหยัดเวลาการผลิตและประหยัดต้นทุนเป็นอย่างมาก เช่น ภาพยนตร์เรื่องToy Story ใช้แอนิเมเตอร์เพียง 110 คนเท่านั้น


ตัวอย่าง